ขมิ้น




ชื่อวิทยาศาสตร์           Curcuma longa L.

วงศ์                         Zingiberaceae

ชื่อพ้อง                         C. domestica Valeton

ชื่ออื่น ๆ                   ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขมิ้นชัน ขี้มิ้น หมิ้น ตายอ สะยอ Turmeric  

สารออกฤทธิ์

ปัจจุบันเภสัชตำรับของไทยได้กำหนดมาตรฐานของขมิ้น ซึ่งประกอบด้วย 5% curcuminoid, 6% น้ำมันหอมระเหยสีเหลืองส้ม ประกอบด้วย monoterpenes, sesquiter-penes, zingiberene, curcumene, a-turmerone และ b-turmerone (1)

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง

ตามตำรายาพื้นบ้านมีการใช้ขมิ้นรักษาอาการท้องเสีย  โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 3 เวลา (2)  

1.   ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง

มีรายงานจากอินโดนีเซียว่าขมิ้นสามารถใช้รักษาอาการอุจจาระร่วงได้ (3)   

            2.   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

ขมิ้นมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ (4, 5) โดยออกฤทธิ์ต้าน acetylcholine, barium choride และ serotonin (5) มีการทดลองในหนูขาวพบว่าขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูขาวได้ (6) ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านแคลเซียม (calcium antagonism) (7) curcumin มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้สุนัข (8)

มีการทดลองทางคลินิกในคนไข้ 440 คน อายุเฉลี่ย 48.5 ปี ทดลองโดยให้รับประทานขมิ้น วันละ 162 มก. พบว่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ได้  (9)

3.  ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดขมิ้น และน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ทั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด หรือท้องเสีย (10-16) ขมิ้นสามารถยับยั้งการเกิดกรดเนื่องจากเชื้อ Lactobacillus acidophilus และ L. plantarum (15) และยังออกฤทธิ์ยับยั้งการเกิดก๊าซเนื่องจากเชื้อ Escherichia coli (16)

Monoterpene และ sesquiterpene ในน้ำมันหอมระเหยจากใบ และ sesquiterpene ketone ในน้ำมันหอมระเหยจากเหง้า สามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli MTCC 433 ได้ที่ความเข้มข้น 15.62 และ 125 มคล./มล. ตามลำดับ (17) น้ำมันหอมระเหยในความเข้มข้น 1 M พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli, Salmonella paratyphi, Salmonella typhosa และ Staphylococcus aureus (14) ความเข้มข้น 31.25 มคล./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Shigella flexnariและ Shigella sonnei  ความเข้มข้น 62.5 มคล./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ  Shigella boydii และความเข้มข้น 7.81 มคล./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli และ Shigella dysnteriae (18) ในจานเพาะเชื้อ  

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาโดยทดลองใช้น้ำมันหอมระเหยของขมิ้นในค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 125 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (19) ในจานเพาะเชื้อ และยังมีการทดลองใช้น้ำสกัด ความเข้มข้น 0.3 มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli, Salmonella paratyphi, Salmonella typhi และ Staphylococcus aureus  (20)

น้ำสกัดและสารสกัดเฮกเซน ความเข้มข้น 200 มก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต้าน Escherichia coli, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus aureus (21) ขณะที่น้ำสกัดและสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ ความเข้มข้น 250 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli  และสารสกัดคลอโรฟอร์ม ความเข้มข้น 250 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus (22)

สารสกัดเอทานอล (100%) ความเข้มข้น 2.5 มก./แผ่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus (23)  แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli และที่ความเข้มข้น 200 มก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coli (21) เช่นกัน

สารสกัดเอทานอล (95%) ความเข้มข้น 250 มก./มล. ทดลองในอาหารเลี้ยงเชื้อ (24) และจานเพาะเลี้ยงเชื้อ (22) พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus แต่ที่ความเข้มข้น 10 มก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว (25)

สารสกัดอัลกอฮอล์และน้ำมันหอมระเหยของขมิ้นมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย   Staphylococci (26) และน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นกระตุ้นการเจริญเติบโตและสร้างกรดโดยเชื้อ Escherichia coli  ส่วน curcumin ไม่กดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย  ยกเว้นเชื้อ Staphylococcus aureus  และในสารสกัดอัลกอฮอล์ของขมิ้นและน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นเหนี่ยวนำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Staphylococcus spp. (24) และน้ำมันจากขมิ้นที่สกัดด้วยเฮกเซนมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli  (27)

Curcumin มีฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli (28), Staphyllococcus spp. และ Streptococcus spp. แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Proteus spp. และ Klebsiella spp. ในจานเพาะเชื้อ (29) curcumin ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Lactobacillus acidophilus และ Salmonella typhosa ในหลอดอาหารเลี้ยงเชื้อ (30)

นอกจากนี้ยังมีการทดลองโดยใช้ curcumin ความเข้มข้น 1 ไมโครโมล พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus และความเข้มข้น 10 ไมโครโมล มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Salmonella typhimurium และ E. coli  ในจานเพาะเชื้อ (31)

4.  ฤทธิ์ต้านปรสิต

มีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ความเข้มข้น 125 มคก./ซีซี มีผลในการฆ่าเชื้ออะมีบา (Entamoeba histolytica)  ซึ่งเชื้อนี้เป็นสาเหตุของโรคบิดมีตัว (32)

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

            1. การทดสอบความเป็นพิษ

          เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล (95%) ให้แก่หนูถีบจักรทางช่องท้อง พบว่าขนาดที่ให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) คือ 3.98./กก. ส่วนการฉีดสารสกัดจากน้ำและปิโตรเลียมอีเทอร์เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่า LD50 มีค่า 430 มก./กก. และ 525 มก./กก. ตามลำดับ (33)  เมื่อฉีดสารสกัดจากเอทานอลและน้ำ (1:1) ให้แก่หนูถีบจักรทางช่องท้อง พบว่า LD50 มีค่าเท่ากับ 500 มก./กก. (32)

          เมื่อกรอกสารสกัดจากเอทานอล (95%) ให้หนูถีบจักร ในขนาด 100 มก./กก./วัน  ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว แต่มีผลต่อปอด หัวใจ เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวลดลง แต่ไม่มีผลต่ออสุจิ (34)  การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังในหนูถีบจักรและหนูขาว โดยให้ขมิ้น 0, 1, 5% และสารสกัดเอทานอล (95%) โดยผสมในอาหารให้หนูกิน 14 และ/หรือ 90 วัน พบว่าผงขมิ้นในขนาดสูง (5%) และในระยะเวลาที่นาน (90 วัน)  พบว่าน้ำหนักลด เป็นพิษต่อตับ มี necrosis  ในหนูถีบจักรในขนาดน้อย 0.2 หรือ 1% เป็นเวลา 14 วัน พบพิษต่อตับ พิษต่อหนูถีบจักรมากกว่าหนูขาว ส่วนสารสกัดในขนาดที่ให้ไม่พบพิษ (35)

          การทดลองในคนทั้งชาย-หญิง โดยให้รับประทานขมิ้นในขนาดวันละ 2.2. ไม่ทำให้เกิดพิษ (36)

          เมื่อผสมสารสกัดเอทานอล (95%) ให้แก่หนูขาวทั้งเพศผู้ และลิง เพศผู้-เมีย ในขนาด 300 มก./กก. หนูตะเภาเพศผู้ ขนาด 2.5./กก. และหนูขาวเพศผู้-เมีย ในขนาด 2.5./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษ (37) กรอกสารสกัดอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1)  ให้หนูถีบจักร ในขนาด 4 มก./กก. ไม่มีผลต่อการกินอาหาร การเพิ่มของน้ำหนัก หรือระบบประสาทส่วนกลาง (38) ผสม oleoresin  จากขมิ้นในอาหารให้แก่หมูในขนาด 60, 296, 1551 มก./กก./วัน  เป็นเวลา 102-109 วัน พบว่าทำให้เกิด thyroid hyperplasia  เกิดการเปลี่ยนแปลงของ epithelial ของกระเพาะปัสสาวะ ไต และ perichalangitis (39) ผสม oleoresin ลงในอาหารให้แก่หนูขาวเพศผู้และเพศเมียในขนาด 0, 1,000, 5,000, 10,000, 25,000 และ 25,000 ppm พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของส่วนประกอบของเลือด แต่จะเกิด hyperplasia ของ mucosal epithelium ใน cecum และ colon ในหนูที่ได้รับ oleoresin 50,000 ppm (40)

          ผงขมิ้นไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน เมื่อให้หนูถีบจักรในขนาด 10./กก.  ส่วนสารสกัดเอทานอลเมื่อให้หนูถีบจักรโดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง ทางใต้ผิวหนัง หรือให้กิน มีค่า LD50 มากกว่า 15./กก.(6)   ส่วนการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังโดยให้ในขนาด 0.03, 2.5 และ 5./กก./วัน  แก่หนูขาว 96 ตัว เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าหนูเพศผู้ที่ได้รับสาร (ผงขมิ้น) 2.5 และ 5./กก./วัน กินอาหารได้น้อยลง และอัตราการเจริญเติบโตน้อยลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (41)

          การทดสอบพิษเฉียบพลันพบว่าไม่เกิดพิษเฉียบพลันในหนูขาว หนูตะเภา และลิง เมื่อให้ขมิ้นในขนาด 2./กก. หรือสารสกัดจากอัลกอฮอล์ของขมิ้นในขนาด 300 มก./กก.  (37)

            2. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

          สารสกัดเอทานอล (95%) ในขนาด 10 มก./จานเพาะเชื้อ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ Salmonella typhimurium TA102 (42) สารสกัดเหง้าขมิ้นด้วยเอทานอล (95%) ในขนาด 15 มก./จานเพาะเชื้อ  มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ S. typhimurium TA98 (43) เมื่อฉีดสารสกัดจากน้ำเข้าท้องหนูถีบจักร ขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ S. typhimurium TA100 และ TA 98 (44) สารสกัดขมิ้นด้วยน้ำในขนาด 100 มก./จานเพาะเชื้อ  ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ Cells-Pig-Kidney-LLC-PK-1 และ Cells-trophoblastic placenta (45) สารสกัดขมิ้นด้วยน้ำ ขนาด 50 มก./ซีซี ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA1535 (46) สารสกัดขมิ้นด้วยน้ำหรือน้ำร้อน หรือผงขมิ้น ขนาด 0.5 ซีซี/แผ่น ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ Bacillus subtilis H-17 (Res+, Res-) และ H-45 (Res-) (47) สารสกัดด้วยน้ำร้อนและอัลกอฮอล์ ขนาด 50 มก./แผ่น  (dry weight of plant) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ S. typhimurium TA98 และ TA100 (48) สารสกัดจากเอทานอล (95%) ในขนาด 250 และ 360 มคก./จานเพาะเชื้อ  ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ S. typhimurium TA98, TA100 และ TA1535 (49) เมื่อใช้ขมิ้นจากส่วน bulb ในขนาด 50 มคก./จานเพาะเชื้อ  ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ S. typhimurium TA1537 และ TA1538 (50) Resin ในขนาด 160 มคก./จานเพาะเชื้อ  ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ S. typhimurium TA98, TA100 และ TA1535 (51) เมื่อให้ขมิ้น 0.5% หรือ curcumin 0.015% ผสมในอาหารให้หนูถีบจักร  พบว่าไม่ทำให้โครงสร้างและจำนวนของโครโมโซมของไขกระดูกเปลี่ยนแปลงและไม่ก่อกลายพันธุ์ และเมื่อให้หนูขาวกินอาหารผสมขมิ้น 0.5 และ 0.05% ซึ่งทำให้สุกไม่พบพิษต่อโครโมโซม (52)  Sodium curcuminate เป็นเกลือที่ได้จากผงขมิ้นทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมในตั๊กแตน   และ Poecilocera picta (Acrididae) (53)  สารสกัดหยาบของขมิ้นไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์  เมื่อทดสอบโดย Ames test โดยใช้ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 (54) สารสกัดขมิ้นด้วยเอทานอล(95%) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium T1530 (55)  Curcumin ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (55)  ขมิ้นชันมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (42, 57)  แต่มีรายงานว่าสารสกัดขมิ้นชันไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA100 (58)

            3. ทำให้ตัวอ่อนผิดปกติ

          เมื่อใช้ส่วนรากผสมลงไปในอาหาร (0.5%) ให้หนูขาวเพศเมีย พบว่าไม่มีฤทธิ์ teratogenic (52)  เมื่อป้อนสารสกัดเอทานอล (95%) สารสกัดจากน้ำและสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ ในขนาด 200 มก./กก.ให้แก่หนูขาว หรือกระต่ายเพศเมีย ไม่พบฤทธิ์ teratogenic (59)

            4. พิษต่อตัวอ่อน

          เมื่อให้หนูขาวเพศเมียกินสารสกัดจากเอทานอล (95%) สารสกัดจากน้ำและสารสกัดจากปิโตรเลียมอีเทอร์ ในขนาด 100 มก./กก. พบว่าเป็นพิษต่อตัวอ่อน (60) เมื่อให้หนูขาวเพศเมียกินสารสกัดจากน้ำและสารสกัดจากปิโตรเลียมอีเทอร์ในขนาด 200 มก./กก. พบว่ามีพิษต่อตัวอ่อน และในขนาด 100 มก./กก. ไม่มีพิษ ส่วนสารสกัดเอทานอล (95%) ในขนาด 200 มก./กก. และ 100 มก./กก. ไม่มีพิษต่อตัวอ่อน (61)

            5. พิษต่อยีน

          เมื่อกรอกผงขมิ้นให้แก่หนูถีบจักร ในขนาด 2.5, 5 และ 7.5./กก. ไม่พบว่ามีพิษ (62)

          6.การทดสอบความเป็นพิษของโซเดียมเคอร์คิวมิเนท ซึ่งเป็นสารสำคัญของขมิ้น พบว่าในขนาด 500 มก.  เมื่อให้ทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดเข้าช่องท้อง ไม่พบพิษในหนูขาว แต่ในขนาดเดียวกันเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร พบว่าสัตว์ทดลองตายหมด ในขนาด 250 มก./กก. ตาย 3 ใน 6 และ 100 มก./กก. ไม่พบพิษ (63)

7.  ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ (64)

8.  ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ (64)

9.  การผสมเพิ่มในอาหารหนูจนถึง 10% ไม่มีผลทำให้เคมีเลือดเปลี่ยนแปลง (65, 66)

10.    Oral LD50 ของเคอร์คิวมินในหนูถีบจักร มีค่ามากกว่า 2./กก. (67)

11.    ผงขมิ้นทำให้มีผู้แพ้ (68) และสารสกัดขมิ้นในขนาด 1% ทำให้แพ้ (69)

 

จากผลการทดลองข้างต้นจะเห็นว่าขมิ้นสามารถใช้รักษาอาการท้องเสียได้  โดยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องเสียได้หลายชนิดและยังลดการบีบตัวของลำไส้  และค่อนข้างปลอดภัย  แต่เนื่องจากผู้ป่วยเอดส์มักมีอาการติดเชื้อรุนแรง  ขมิ้นอาจไม่ทันกับโรค

 

เอกสารอ้างอิง

1.      World Health Organization.  WHO monographs on selected medicinal plants.  Hong Kong:Malta, 1999:115-24.

2.       . เจริญประกิจ.  แบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โดยโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.

3.       Santoso SO.  Research of phytotherapy in Indonesia.  The First Princess Chulabhon Science Congress,  International Congress on Natural Products, Bangkok, Thailand, Dec 10-13, 1987;34.

4.       Permpiphat U, Kieatyingungsulee N, Anulakanapakorn K, Anulakanapakorn K, Jirajariyavech W, Kihisiripornkul S,  Juthaputhi U.  Pharmacological study of Curcuma longa.  Symposium of the Department of Medicinal Science,  Bangkok Thailand. Dec 3-4, 1990.

5.       Rumpel W.  Zur pharmakologie des divanillal cyclohexanon (DVC).  Arch Pharm 1954;287:350-2.

6.       โสภิต ธรรมอารี จันทิมา ปโชติการ มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร จันทนี อิทธิพานิชพงศ์.  ฤทธิ์ของยาสมุนไพร 30 ชนิดที่มีสรรพคุณใน การรักษาโรคท้องร่วงและบิดต่อการบีบตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา.  จุฬาลงกรณ์เวชสาร 1985;29(1):39-51.

7.       อัมพวัน อภิสริยะกุล.  การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อลำไส้เล็กของหนูขาว.  เชียงใหม่เภสัชสาร  1984;3(1):8-16.

8.       Rao TS, Basu N, Seth SD, Siddiqui HH.  Some aspects of pharmacological profile of sodium curcuminate.  Indian  J Physiol Pharmacol 1984;28(3):211-5.

9.       Deitilhoff P, Petrowicz O, Muller B.  Antidyspeptic properties of turmeric root extract (TRE).  Phytomedicine  2000;7(S2):P71.

10.    Lutomoski J, Keazia B, Debska W.  Effect of an alcohol extract and active ingredient from Curcuma longa on bacteria and fungi.  Planta Med 1974;26(1):9-19.

11.    Shankar TNB, Murthy VS.  Effect of turmeric Curcuma longa fractions on the growth of some intestinal an pathogenic bacteria in vitro.  Indian J Exp Biol 1979;17(12):1363-6.

12.    Huhtanen CN.  Inhibition Of Clostridium botulinum by spice extracts and aliphatic alocohols.  J Food Prot 1980;43(3):195-6.

13.    Iamthammachard S, Sukchotiratana N.  Effects of some medicinal plants in the family Zingiberaceae on the growth of some bacteria.  Symposium on Science and Technology of Thailand 13th, Songkhla, Thailand, Oct 20-22, 1987.

14.    Banerjee A, Nigam SS.  Antimicrobial efficacy of the essential oil of Curcuma longa.  Indian J Med Res 1978;68: 864-6.

15.    Shankar TNB, Murthy VS.  Effect of turmeric (Curcuma longa) on the growth of some intestinal bacteria in vitro.  J Food Sci Technol 1978;15(4):152-3.

16.    Bhavanishankar TN, Murthy S.  Curcumin-induced alteration in the glucose metabolism of Escherichia coli.  J Gen Appl Microbiol 1986;32(4):263-70.

17.    Uechi S, Ishmine Y, Hongo F.  Antibacterial activity of essential oil derived from Curcuma sp. (Zingiberaceae) against food-borne pathogenic bacteria and their thermal stability.  Ryukyu Daigaku Nogakubu Gakujutsu Hokoku 2000;47:129-36.

18.    Rath Chandi C, Dash SK, Mishra RK, Ramchandraiah OS, Azeemoddin G, Charyulu JK.  A note on the characterization of susceptibility of turmeric (Curcuma longa) leaf oil against Shigella species.  Indian Drugs 1999;36(20):133-6.

19.    Rath Chandi C, Dash SK, Mishra RK, Charyulu JK.  Anti E. coli activity of turmeric (Curcuma longa L.) essential oil.   Indian Drugs 2001;38(3):106-11.

20.    Srinivasan D, Nathan S, Suresh T.  Antimicrobial activity of certain Indian medicinal plants used in folkloric medicine.  J Ethnopharmacol 2001;74:217-20.

21.    Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F.  Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties. J Ethnopharmacol 1998;62(2):183-93

22.    Sankaranarayanan J, Jolly CI.  Phytochemical, antibacterial and pharmacological investigations on Momordica  charantia Linn., Emblica officinalis Gaertn. and Curcuma longa Linn.  Indian J Pharm Sci 1993;55(1):6-13.

23.    Alkofahi A, Batshoun R, Owais W, Najib N.  Biological activity of some Jordanian medicinal plant extracts. Part II.   Fitoterapia 1997;68(2):163-8.

24.    Bhavani Shankar TN, Murthy VS.  Effect of tumeric (Curcuma longa) fractions on the growth of some intestinal and pathogenic bacteria in vitro.  Indian J Exp Biol 1979;17:1363-6.

25.    Naovi SAH, Khan MSY, Vohora SB.  Anti-bacterial, anti-fungal and anthelmintic investigations on Indian medicinal plants.  Fitoterapia 1991;62(3):221-8.

26.    Von J, Lutomski B, Kedzia WD. Effect of an alcohol extract an active ingredients from Curcuma longa on bacteria and fungi. Planta Med 1974;26:9-19.

27.    Negi PS, Jayaprakasha L, Jagan Mohan Rao L, Sakariah KK.  Antibacterial activity of tumeric oil: a by product from curcumin manufacture.  J Agric Food Chem 1999;47:297-300.

28.    Commandeur JNM, Vermueulen NPE.  Cytotoxicity and cytoprotective activities of natural compounds. The case of curcumin.  Xenobiotica 1996;26(7):667-80.

29.    Wongseri V, Siripong P.  Antibacterial activity of curcuminoid compounds from Curcuma zedoaria Roscoe rhizomes.  Thai Cancer J 1995;21(1):17-24.

30.    Dahl TA, Mc Gowan WM, Shand MA, Srinivasan VS.  Photokilling of bacteria by the natural dye curcumin.  Arch Microbiol 1989;151(2):183-5.

31.    Bhavani Shankar TN, Murthy VS.  Effect of turmeric (Curcuma longa) fractions on the growth of some intestinal and pathogenic bacteria in vitro.  Indian J Exp Biol 1979;17:1363-6.

32.    Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehhrota BN, Ray C.  Screening of Indian plants for biological activity: part I. Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.

33.    Yegnanarayana R, Saraf AP, Balwani JH.  Comparison of anti-inflammatory activity of various extracts of Curcuma  longa.  Indian J Med Res 1976;64:601.

34.    Qureshi S, Shah AH, Ageel AM.  Toxicity studies on Alpinia galanga and Curcuma longa.  Planta Med 1992;58(2): 124-7.

35.    Deshpande SS, Lalitha VS, Ingle AD, Raste AS, Gadre SG, Maru GB.  Subchronic oral toxicity of turmeric and ethanolic turmeric extract in female mice and rats.  Toxicol Lett 1998;95(3):183-93.

36.    Sharma RA, Mc Lelland HR, Hill KA, et al.  Pharmacodynamic and pharmacokinetic study of oral Curcuma extract in patients with colorectal cancer.  Clin Cancer Res 2001;7(7):1894-900.

37.    Bhavani Shankar TN, Shantha NV, Ramesh HP, Murthy IAS, Murthy VS.  Toxicity studies on turmeric (Curcuma  longa). Acute toxicity studies in rats, guinea pigs & monkeys.  Indian J Exp Biol 1979;18:73-5.

38.    Miquel J, Martinez M, Diez A, et al.  Effects of turmeric on blood and liver lipoperoxide levels of mice: lack of toxicity.  AGE (Chester Pa) 1995;18(4):171-4.

39.    Bille N, Larsen JC, Hansen EV, et al.  Subchronic oral toxicity of turmeric oleoresin in pigs.  Food Chem Toxicol 1985;23(11):967-73.

40.    National Toxicology Program.  NTP technical report on the toxicology and carcinogenesis studies of turmeric oleoresin (CAS No. 8024-37-1) (Major Component 79%-85% curcumin. CAS No. 458-37-7) in F344/N rats and B6C3F1 mice (feed studies).  Report 1993.

41.    Sittisomwong N, et al.  Acute and subchronic toxicity of turmeric.  Bull Depart Med Sci 1990;32(3):101-11.

42.    Mahmoud I, Alkofahi A, Abdelaziz A.  Mutagenic and toxic activities of several spices and some Jordanian medicinal plants.  Int J Pharmacog 1992;30(2):81-5.

43.    Shashikanth KN, Hosono A.  In vitro mutagenicity of tropical spices to streptomycin dependent strains of Salmonella typhimurium TA98.  Agr Biol Chem 1986;50(11):2947-8.

44.    Yin XJ, Liu DX, Wang H, Zhou Y.  A study on the mutagenicity of 102 raw pharmaceuticals used in Chinese traditional medicine.  Mutat Res 1991;260(1):73-82.

45.    Rockwell P, Raw I.  A mutagenic screening of various herbs, spices, and food additives.  Nutr Cancer 1979;1:10- 5.

46.    Chang IM, Guest IC, Lee-Chang J, et al.  Assay of potential mutagenicity and antimutagenicity of Chinese herbal drugs by using SOS chromotes (E. Coli PQ37) and SOS UMU test (S. typhimurium TA1535/ PSK 1002).  Proc First Korea-Japan Toxicology Symposium Safety Assessment of Chemicals in vitro 1989:133-45.

47.    Ungsurungsie M, Suthienkul O, Paovalo C.  Mutagenicity screening of popular Thai spices.  Food Chem Toxicol  1982;20:527-30.

48.    Yamamoto H, Mizutani T, Nomura H.  Studies on the mutagenicity of crude drug extracts. I.  Yakugaku Zasshi 1982;102:596-601.

49.    Nagabhushan M, Bhide SV.  Nonmutagenicity of curcumin and its antimutagenic action versus chili and capsaicin. Nutr Cancer 1986;8(3):201-10.

50.    Sivaswamy SN, Balachandran B, Balanehru S, Sivaramakrishnan VM.  Mutagenic activity of South Indian food items.  Indian J Exp Biol 1991;29(8):730-7.

51.    Jensen NJ.  Lack of mutagenic effect of turmeric oleoresin and curcumin in the Salmonella/mammalian microsome test.  Mutat Res 1982;105(6):393-6.

52.    Vijayalaxmi.  Genetic effects of turmeric and curcumin in mice and rats.  Mutat Res 1980;79(2):125-32.

53.    Krishnamoorthy M, Abdul Rahiman M.  Cytogenetic effects of curcumin salt on the miotic chromosomes of Poecilocera picta.  J Environ Biol 1987;8(1):11-24.

54.    Shah RG, Netrawali MS.  Evaluation of mutagenic activity of turmeric extract containing curcumin, before and after activation with mammalian cecal microbial extract or liver microsomal fraction, in the Ames Salmonella test.  Bull Environ Contam Toxicol 1988;40(3):350-7.

55.    Alkofahi A, Batshoun R, Owais W, Najib N.  Biological activity of some Jordanian medicinal plant extracts. Part II. Fitoterapia 1997;68(2):163-8.

56.    Nakamura H, Yamamoto T.  The active part of the (6)-gingerol molecule in mutagenesis.  Mutat Res 1983;122(2): 87-94.

57.    Leamworapong C.  Effect of a food preservative nitrite on mutagenicity of Thai medicinal plants using the Ames test.  Annual Thesis Abstract, Mahidol Univ 1989:627-8.

58.    Changbumrung S, Limveeraprajak E, Rojanapo W, et al.  Mutagenicity and clastogenicity tests of natural food colouring agents commonly used in Thailand.  Ann Res Abstr and Bibliography of Non-Formal Publication, Mahidol Univ 1998;25:420.

59.    Garg SK.  Effect of Curcuma longa (Rhizomes) on fertility in experimental animals. Planta Med 1974;26:225-7.

60.    Garg SK.  Effect of Curcuma longa on fertility in female albino rats.  Bull P.G.I. 1971;5:178.

61.    Garg SK, Mathur VS, Chaudhury RR.  Screening of Indian plants for antifertility activity.  Indian J Exp Biol 1978; 16:1077-9.

62.    Abraham SK, Kesavan PC.  Genotoxicity of garlic, turmeric and asafoetida in mice. Mutat Res 1984;136(1):85-8.

63.    Ramaprasad C, Sirsi M.  Observations on the pharmacology of Curcuma longa.  Indian J Physiol Pharmacol  1957;1:136-43.

64.    Gruenwald J, Brendler T, Jaenicke C, et al. (eds.)  PDR for herbal medicines (2nd Edition).  New Jersey:Medical  Economic Company, 2000:858pp.

65.    Sambaiah K, Ratankumar S, Kamanna VS, Satyanarayana MN, Rao MVL.  Influence of turmeric and curcumin on  growth blood constituents and serum enzymes in rats.  J Food Sci Technol 1982;19(5):187-90.

66.    Prucksunand C, Wimolwattanapun S, Nilvises N, Prijavudhi A, Wannavirakul B.  Effects of the long turmeric  (Curcuma longa Linn.) on blood chemistry before and after four week period of treatment.  Ann Res Abstr and  Bibliography of Non formal publication, Mahidol Univ 1987;14:159.

67.    Srimal RC, Dhawan BN.  Pharmacology of diferuloyl methane (curcumin), a non-steroidal anti-inflammatory agent.   J Pharm Pharmacol 1973;25(6):447-52.

68.    Seetharam KA, Pasricha JS.  Condiments and contact dermatitis of the finger-tips.  Indian J Dermatol Venereol  Leprol 1987;53(6):325-8.

69.    Watanabe N, Kataoka T, Tajika T, et al. 1'-Acetoxy chavicol acetate as an inhibitor of phagocytosis of  macrophages.  Biosci Biotech Biochem 1995;59(8):1566-7.